info@tangopilgrim.com | +66 954789624
การฟังเพลงแจ๊ส

ว่ากันด้วยเรื่องของแนวเพลงที่น่าสนใจนั้น มีมากมายหลากหลายแนวให้เราได้เลือกฟังตามความชอบ ไม่ว่าจะเป็นเพลง Pop, Hip Hop  เพลง EDM และหนึ่งเพลงที่น่าสนใจนั้นก็คือ “เพลง Jazz” นั้นเองครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปสำรวจ “ความเป็ฯมาของเพลงเเจ๊ส” กันสักหน่อยครับ ว่าเป็นอย่างไร? เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย!!!

ต้นกำเนิดของเพลงแจ๊ส

ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า “แจ๊ส” ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น โดยรากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues) คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) คือ การแต่งทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ สด ๆ โดยไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า หรือการโซโล่แบบด้นสด ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้าย ๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา

เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลาย ๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph ‘Buddy’ Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวม ๆ กันว่า “ฮ็อต มิวสิก” (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

แจ๊สยุคใหม่ เป็นอย่างไรบ้าง?

ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น

ช่วงต้นทศวรรษที่ 80 แจ๊สได้รับความนิยมระดับนึงมีการผสมแจ๊สเข้ากับป็อป เรียกป็อปฟิวชัน หรือ สมูธแจ๊ส ประสบความสำเร็จในยอดการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุ นักแซกโซโฟนสมูธแจ๊สอย่าง กรูเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์, เคนนี จี และ นาจี เพลงของพวกเขาเล่นในสถานีวิทยุโดยมักจะทำเพลงร่วมกับเพลงแนว ไควเอ็ดสตรอมในตลาดคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา อย่างเช่นเล่นในเพลงของศิลปินอย่าง อะนิทา เบเกอร์, ชากา คาน, อัล จาร์รู และชาเด เป็นต้น

3 ประโยชน์ของการฟังเพลงแจ๊ส

●ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความดันโลหิต  มีงานวิจัยที่กล่าวไว้ด้วยว่า การฟังดนตรีแจ๊สเป็นเวลา 30 นาที สามารถช่วยเพิ่มระดับของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และยังช่วยลดความดันโลหิต

●คลายเครียด เพิ่มอารมณ์ดี ดนตรีมีผลอย่างลึกซึ้งต่อร่างกายและเพิ่มพลังบวกให้จิตใจ การฟังเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล คลื่นสมองและอัตราการเต้นของหัวใจทำงานประสานกับจังหวะของเพลง ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย การหายใจช้าลง ลดการทำงานของสมอง และลดความดันโลหิต ส่งผลให้สภาพจิตดีขึ้น

●มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ดนตรีเป็นส่วนพัฒนาสมอง ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานอย่างสมดุล ดังนั้นสมองจะผ่อนคลาย ผู้ฟังจะปล่อยความคิดและจินตนาการไปตามเพลง ซึ่งเป็นผลดีกับสมองซีกขวา และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายให้ตื่นตัวอีกด้วย การใช้ดนตรีเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ทั้งการฟัง การร้อง การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ และการเล่นดนตรี จะส่งผลให้เด็กมีแรงบันดาลใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดลื่นไหล และเป็นตัวสร้างเสริมจินตนาการได้เป็นอย่างดีครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ความเป็นมาของเพลงแจ๊ส” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะชอบกันนะครับ