info@tangopilgrim.com | +66 954789624
วางแผนการเงิน

หลายๆ ท่านก็คงจะปฏิเสธกันไม่ได้อย่างแน่นอนครับว่า “เงิน” เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกๆ ท่าน เพราะการไม่มีเงินก็แทบจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยหล่ะครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปเตรียมตัวพร้อมกับ “การวางแผนการเงินที่ดี” ที่น่าสนใจกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง…

การวางแผนการเงินคืออะไร?

ขึ้นชื่อว่า “วางแผน” ก็ย่อมต้องสำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างแน่นอนจึงต้องเป็นอะไรที่คิดไตร่ตรองที่ดีเพื่อให้สภาพทางการเงินคล่อง ไม่ขาดทุนและไม่เหลือเงินใรอนาคตครับ

ตัวอย่าง 2 ความเสี่ยงทางการเงินที่ควรรู้

●ความมั่นคงของรายได้ เราจะมีปัญหาแน่นอน ถ้าวันหนึ่งเกิดขาดรายได้ขึ้นมา ไม่ว่าจากการถูกให้ออกจากงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการขาดรายได้สูง เช่น ขายของไม่ได้ ไม่มีคนว่าจ้าง ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายประจำวัน รวมถึงการออมเงินเพื่ออนาคต จึงควรป้องกันด้วยการพยายามหารายได้หลายทาง เพื่อลดภาระการพึ่งพารายได้ทางใดทางหนึ่ง หรือหมั่นพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตัวเองตลอดเวลา

●ภาระทางการเงินที่มีอยู่ ภาระทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ภาระหนี้สินและภาระค่าเลี้ยงดูบุคคลอื่น เช่น พ่อแม่ ลูก หรือคู่สมรส ที่เรียกว่าเป็นภาระ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องแบกรับไว้ นั่นแปลว่าหากเราจากไปกะทันหัน หรือกลายเป็นคนทุพพลภาพ ภาระเหล่านี้จะต้องถูกส่งต่อไปที่บุคคลอื่น เช่น คนในครอบครัวที่ต้องมาแบกรับภาระหนี้สิน หรือค่าเลี้ยงดูแทนเราต่อไป ซึ่งอาจกระทบการใช้ชีวิตหรือสร้างความเดือดร้อนให้คนที่ต้องมารับภาระแทน รวมถึงคนที่ต้องเลี้ยงดูต่อไปด้วย เราควรรองรับความเสี่ยงเรื่องนี้ด้วยการมีทรัพย์สินให้เพียงพอต่อการจัดการหนี้สิน และให้คนที่เลี้ยงดูอยู่ได้ใช้ต่อไปจนหมดภาระเลี้ยงดู หรือทำประกันชีวิตและประกันเอาไว้ให้ครอบคลุมภาระการเงินส่วนขาด เพื่อโอนความเสี่ยงดังกล่าวให้บริษัทประกันชีวิตมารับผิดชอบแทน

หลักการวางแผนการเงินที่ดี

●ประเมินฐานะการเงิน สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบุคคลไม่ใช่ สินทรัพย์ที่มีอยู่ แต่เป็น “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งสามารถประเมินได้โดยการจัดทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินแล้วนำมาคำนวณ ดังนี้

●ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ควรมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะพิชิตเป้าหมายให้ชัดเจน รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น หากในขณะนี้เรามีรายได้น้อยหรือภาระทางการเงินมาก ก็อาจเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญหรือเร่งด่วนก่อน ควรนำ “สิ่งที่จำเป็นต้องมี” มากำหนดเป็นเป้าหมายก่อน “สิ่งที่อยากได้”

●จัดทำแผนการเงิน ควรมีการจัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เราจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

●ตรวจสอบและปรับแผนการเงินตามสถานการณ์ ควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่

การออมเงินที่น่าทำตาม

●เปิดบัญชีฝากประจำ การฝากประจำ คือ ต้องฝากเงินในจำนวนเท่าๆ กันทุกเดือน ในระยะเวลาที่กำหนด และเงินจำนวนนี้จะไม่สามารถถอนออกก่อนกำหนดเวลาได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาของการฝากประจำก็มีทั้งแบบระยะสั้น 3 เดือน – 1 ปี และแบบระยะยาว 2-3 ปี ใครที่เป็นคนเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ แนะนำให้ลองออมเงินด้วยวิธีนี้ดู ทั้งได้เงินออม ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย แถมยังได้ฝึกวินัยในตนเองเพิ่มอีกด้วย

●นำเหรียญที่เหลือทุกวันหยอดกระปุก ลองหากระปุกออมสินน่ารักๆ มาสร้างแรงบันดาลใจสักอัน คอยสำรวจกระเป๋าสตางค์ของเราว่า มีเศษเหรียญอยู่บ้างไหม ถ้ามีก็อย่ารีรอ รีบหยอดกระปุกกุ๊กกิ๊กของเราให้เต็มเร็วๆ กันดีกว่า หรือถ้าวันไหนเกิดอยากจะให้โบนัสตัวเอง ก็ลองเพิ่มจากเศษเหรียญเป็นแบงก์ 20 บ้างก็ได้ พอกระปุกเต็มเมื่อไหร่ก็ลองแกะมานับดู เผลอ ๆ ได้มาอีกหลายร้อยโดยไม่รู้ตัวนะเอ้า!

●เงินเหลือเท่ากับออม สมมติว่า สิ้นเดือนเรามียอดคงเหลือในบัญชีอยู่ 2,080 บาท ให้ย้ายเงินส่วนนี้ไปใส่บัญชีเงินออม อาจจะถอนออกเป็นเลขกลม ๆ เช่น 2,000 บาท ไปเก็บออมไว้ พอขึ้นเดือนใหม่ เงินเดือนเข้ามาอีก ของเก่าคงค้าง 80 บาท เราก็พยายามจดบันทึกและเก็บเงินส่วนนั้นไปเรื่อยๆ เพียงเท่านี้…กก็ถือเป็นการบังคับตัวเองให้ใช้จ่ายด้วยวงเงินที่จำกัดเท่า ๆ กันในแต่ละเดือน และลดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายลงได้

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “การวางแผนการเงินที่ดี” ที่พวกเราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นปะรโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันไม่มากก็น้อยกันนะครับ